วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2563

การสรุปผลและการเผยแพร่ผลงาน

 

การนำเสนอและเผยแพร่โครงงาน

       การนำเสนอและเผยแพร่โครงงานเป็นการนำภาระงาน ชิ้นงาน หรือกิจกรรมอิสระของโครงงานที่ทำไว้ไปเผยแพร่ให้แก่ผู้ที่สนใจหรือสาธารณชนได้รับรู้ เพื่อให้ผู้ที่สนใจนำโครงงานดังกล่าวไปพัฒนาและใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป การนำเสนอและเผยแพร่โครงงานสามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น การแสดงผลงาน การจัดนิทรรศการ การสร้างเว็บไซต์



การดำเนินงาน

  1. คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจจะทำ 

 2. ศึกษาค้นคว้าและวางแผน 

 3. จัดทำเค้าโครงของโครงงานที่จะทำ

 4. การลงมือทำโครงงาน

 5. เขียนรายงานและจัดทำคู่มือการใช้

 6. การนำเสนอและแสดงโครงงาน



การวางแผนและการออกแบบโครงงาน

การวางแผนและการออกแบบโครงงาน

 1. คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจจะทำ 
 2. ศึกษาค้นคว้าและวางแผน 
 3. จัดทำเค้าโครงของโครงงานที่จะทำ
 4. การลงมือทำโครงงาน
 5. เขียนรายงานและจัดทำคู่มือการใช้
 6. การนำเสนอและแสดงโครงงาน


การศึกษาและกำหนดขอบเขตของปัญหา

 การวิจัยทุกเรื่องจะต้องมีขอบเขตของการศึกษา เพื่อให้ทราบว่าการวิจัยที่จะศึกษามีขอบข่ายกว้างขวางเพียงใด เนื่องผู้วิจัยไม่สามารถทำการวิจัยได้ครบถ้วนทุกแง่ทุกมุมของปัญหานั้น ด้วยเหตุนี้เมื่อได้ปัญหาที่จะทำการวิจัยแน่นอนแล้ว ผู้วิจัยจะต้องกำหนดขอบเขตของการศึกษาให้ชัดเจนว่าจะครอบคลุมอะไรบ้าง  โดยการกำหนดขอบเขตของเรื่องให้แคบลงเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งของปัญหาการวิจัยว่าจะศึกษาในเรื่องใด ศึกษากับใคร และศึกษาแง่มุมใด ทั้งนี้เพื่อตีกรอบความคิดของผู้วิจัยและผู้อ่านให้อยู่ในวงที่จำกัดไว้



การกำหนดปัญหา

 ขั้นตอนการแก้ปัญหา

การแก้ปัญหาเป็นกิจกรรมพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ปัญหาบางปัญหาสามารถหาคำตอบได้ในทันที ขณะที่บางปัญหาใช้เวลานานในการค้นหาคำตอบ อย่างไรก็ตามทุกคนต่างต้องการหาวิธีการในการแก้ปัญหาที่ทำให้ได้คำตอบที่ถูกต้องในเวลารวดเร็วการแก้ปัญหา ประกอบด้วย ขั้นตอน

1.     วิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา

2.   การวางแผนการแก้ปัญหา

3. การดำเนินการปัญหา

4. การตรวจสอบและประเมินผล



การจัดเรียงและค้นหาข้อมูล

 การค้นหาข้อมูลแบบลำดับ(Sequential Search)

    การค้นหาข้อมูลแบบลำดับ(Sequential Search) การหาข้อมูลแบบเป็นลำดับขั้นตอน โดยจะค้นหาตั้งแต่ตัวแรกเรียงลำดับไปทีละตัวจนกว่าจะพบข้อมูลที่ต้องการ 
 โดยผลลัพธ์จากการค้นหาข้อมูลจะมีความเป็นไปได้อยู่ 2 แบบ คือ
     1.พบตำแหน่งข้อมูลที่ต้องการภายในลิสต์
   2. ไม่พบตำแหน่งข้อมูลที่ต้องการภายในลิสต์


การทำซ้ำ

 การทำซ้ำ

    ในการทำงานบางครั้งย่อมมีการทำงานรูปแบบเดียวกันซ้ำๆ หลายรอบ ซึ่งลักษณะการทำซ้ำ เช่น การทำซ้ำในรายการ การทำซ้ำด้วยเงื่อนไข

การทำซ้ำในรายการ
การทำซ้ำในรายการจะพิจารณาข้อมูลในรายการทีละตัวจนครบทุกรายการโดยมีรูปแบบการพิจารณาคือ
1. ให้ตัวแปร x แทนข้อมูลท่ีพิจารณาอยู่
2. ประมวลผลตัวแปร x


การออกแบบขั้นตอนวิธี

 ขั้นตอนวิธี หรือ อัลกอริทึม (algorithm) หมายถึงกระบวนการแก้ปัญหาที่สามารถเข้าใจได้ มีลำดับหรือวิธีการในการแก้ไขปัญหาใดปัญหาหนึ่งอย่างเป็นขั้นเป็นตอนและชัดเจน เมื่อนำเข้าอะไร แล้วจะต้องได้ผลลัพธ์เช่นไร ซึ่งแตกต่างจากการแก้ปัญหาแบบสามัญสำนึก หรือฮิวริสติก (heuristic)โดยทั่วไป ขั้นตอนวิธี จะประกอบด้วย วิธีการเป็นขั้นๆ และมีส่วนที่ต้องทำแบบวนซ้ำ (iterate) หรือ เวียนเกิด (recursive) โดยใช้ตรรกะ (logic) และ/หรือ ในการเปรียบเทียบ (comparison) ในขั้นตอนต่างๆ จนกระทั่งเสร็จสิ้นการทำงาน ในการทำงานอย่างเดียวกัน



การระบุข้อมูลเข้า ข้อมูลออก และเงื่อนไขของปัญหา

ข้อมูลเข้า คือข้อมูลที่ใช้เพื่อประมวลผล 

ข้อมูลออก เป็นข้อมูลผลลัพพ์ที่ต้องการ

เงื่อนไข คื การกำหนดวิธีประมวลผล ได้แก่ การพิจารณาขั้นตอนวิธีการได้มาซึ่งคำตอบหรือข้อมูลออก




การแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์

กระบวนการในการแก้ปัญหา  ซึ่งประกอบด้วย ขั้นตอน ดังนี้

 1. การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา
2. การเลือกเครื่องมือและออกแบบขั้นตอนวิธี
3. การดำเนินการแก้ปัญหา
4. การตรวจสอบและปรับปรุง